เมนู

วรรคที่ 7


บทว่า อกฺกนฺตสฺส ได้แก่ ผู้ยืนเหยียบเขียงเท้าอย่างเดียว ไม่ได้
สอดระหว่างนิ้วเท้าเข้าไปในสายเขียงเท้าคล้ายคันร่ม.
บทว่า ปฏิมุกฺกสฺส คือ ผู้ยืนสวมเขียงเท้าอยู่. แม้ในรองเท้า ก็
นัยนั่นแล. ก็ในคำว่า โอมุกฺโก นี้ ตรัสเรียกบุคคลผู้ยืนสวมรองเท้าหุ้มส้น.
ในคำว่า ยานคตสฺส นี้ ถ้าแม้นว่า คนที่ถูกชน 2 คนหามไปด้วยมือประสาน
กันก็ดี คนที่เขาวางไว้บนผ้า แล้วใช้บ่าแบกไปก็ดี คนผู้นั่งบนยานที่ไม่ได้เทียม
มีคานหามเป็นต้นก็ดี ผู้นั่งบนยานที่เขารื้อออกวางไว้ แม้มีแต่เพียงล้อก็ดี ย่อม
ถึงการนับว่า ผู้ไปในยาน ทั้งนั้น. แต่ถ้าคนแม้ทั้งสอง 2 ฝ่าย นั่งไปบน
ยานเดียวกัน จะแสดงธรรมแก่อีกฝ่ายหนึ่ง ควรอยู่. แม้ใน 2 คนผู้นั่งแยก
กัน ฝ่ายผู้นั่งอยู่บนยานสูง จะแสดงธรรมแก่ฝ่ายผู้นั่งอยู่บนยานต่ำ ควร. จะ
แสดงแก่ผู้นั่ง แม้บนยานที่เสมอกัน ก็ควร. ภิกษุผู้นั่งอยู่บนยานข้างหน้า จะ
แสดงธรรมแก่ผู้นั่งบนยานข้างหลังควร. แต่ภิกษุผู้นั่งบนยานข้างหลังแม้สูงกว่า
จะแสดงธรรมแก่ผู้นั่งบนยานข้างหน้า (ซึ่งไม่เจ็บไข้) ไม่ควร.
บทว่า สยนคตสฺส มีความว่า ภิกษุผู้ยืน หรือนั่งบนเตียงก็ดี บน
ตั่งก็ดี บนภูมิประเทศก็ดี แม้สูง จะแสดงธรรมแก่ (คนไม่เป็นไข้) ผู้นอน
อยู่ ชั้นที่สุดบนเสื่อลำแพนก็ดี บนพื้นตามปกติก็ดี ไม่ควร. แต่ภิกษุผู้อยู่
บนที่นอน จะนอนบนที่นอนสูงกว่า หรือมีประมาณเสมอกัน แสดงธรรมแก่
ผู้ไม่เป็นไข้อยู่บนที่นอน ควรอยู่. ภิกษุผู้นอนจะแสดงธรรมแก่คนผู้ไม่เป็น
ไข้ ยืนอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี ควรอยู่. แม้ภิกษุนั่งจะแสดงธรรมแก่คนผู้ยืน หรือ
ว่านั่ง ก็ควร. ภิกษุยืน จะแสดงธรรมแก่ผู้ยืนเหมือนกัน ก็ได้.